แฟ้มสะสมผลงานในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ประมวณภาพ
วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
เนื้อหาที่ได้เรียน/ความรู้ที่ได้รับ
- การทำมายแมพ เวลาเราจะแบ่งอะไรควรมีเกณฑ์ในการแบ่ง เช่น ลักษณะของต้นไม้ สี รูปร่าง ขนาด
-อาจารย์ให้เพื่อนออกมาร้องเพลงคณิตศาสตร์จากตัวเราเองที่เคยมีประสบการณ์ผ่านมา
อ.นิตยา ประพฤติกิจ. 2541 : 17-19
1. การนับ (Counting) เป็นคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับตัวเลข เช่น ตัวเลข การนับเลขปากเปล่า
2. ตัวเลข (Number) เป็นตัวเลขที่เด็กเห็นในชีวิตประจำวันเช่น การแทนค่า ลำดับที่
3. การจับคู่ (Matching) เด็กรู้จักสัญลักษณ์ต่างๆ การจับคู่สัญลักษณ์กับจำนวน สัญลักษณ์กับสัญลักษณ์
4. การจัดประเภท(Clasification) จัดประเภทหรือการหาเกณฑ์ในการจัดประเภทว่ามีความแตกต่างหรือเหมือนกันในเรื่องใด
5. การเปรียบเทียบ(Comparing) ความสัมพันธ์ระหว่าสิ่งของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้ค่าจำนวนสิ่งของสองสิ่ง รู้จักใช้คำศัพย์ สั้นกว่า หนักกว่า
6. การจัดลำดับ(Ordering) การจัดบล็อค 5 แท่ง ที่มีความยาวเท่า ๆ กัน ให้เรียงลำดับจากสูงไปต่ำ หรือยาวไปสั้น
7. รูปทรงและเนื้อหา (Shape and Space) เราให้เด็กเปรียบเทียบพื้นที่ด้วยสายตาก่อน แล้วจึงจัดประสบการณ์ให้เด็กรู้จักกับรูปร่างรูปทรง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ทรงกลม
8. การวัด (Measurement) ระยะทาง ปริมาณ น้ำหนัก ปริมาณเนื้อที่
9. เซต (Set) เซตของจานอาหาร
10. เศษส่วน (Fraction)
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) การทำให้เด็กจดจำรูปแบบลวดลายและพัฒนาการจำแนกด้วยสายตา ฝึกสังเกตุ ฝึกทำตาม
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้วยปริมาณ (Conservation)
เยาวพา เดชะคุป (2542 : 81-82)
1. การจัดกลุ่มหรือเซต การจับคู่ การจับคู่สิ่งของรวมกลุ่ม
2.จำนวน 1-10 จำนวนคู่-คี่
3. ระบบจำนวน และแต่ละข้อของตัวเลข
4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ เช่น เซตรวม การแยกเซต การจับคู่ผลไม้
5. คุณสามบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (Properties OF Math)
6. ลำดับสำคัญและประโยชน์คณิตศาสตร์ ได้แก่ ประโยชน์คณิตศาสตร์ที่แสดงถึง จำนวน ปริมาณ คุณภาพต่างๆ เช่น มาก-น้อย สูง-ต่ำ
7. การวัด (Measurement) การวัดสิ่งของที่เป็นของเหลว เงินตรา อุณหภูมิ
8. รูปทรงเลขาคณิต การเปรียบเทียบรูปทรง ขนาด ระยะทาง
9. สถิติและกราฟ การหาความสัมพันธ์และนำมาเปรียบเทียบ นำมาอ่านด้วยการฟ
วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
เนื้อหาที่ได้เรียน/ความรู้ที่ได้รับ
- เลข 1 2 3 4 เลขจำพวกนี้เรียกว่า เลขฮินดูอารบิก เราควรเรียกให้ติดปาก
- อาจารย์แจกกระดาษ 1 แผ่น แบ่ง 4 ส่วน ให้นักศึกษาแต่ละคนวาดภาพสัญลักษณืของตัวเองลงไปในกระดาษพร้อมเขียนชื่อของตัวเองใต้ภาพ
- เวลาสอนเด็กนับเลข ไม่ใช่นับ หนึ่ง สองสาม สี่ ห้า ถ้าถ้านับแบบนี้ควรนับกับเด็กที่มีประสบการณ์มาแล้ว แต่ถ้าหากนับกับเด็กที่ไม่มีประสบการณ์เราควรสอนนับแบบนี้ มีอยู่ 1 เพิ่มมาอีก 1 เป็น 2 มีอยู่ 2 เพิ่มมาอีก 1 เป็น 3 ทำแบบนี้เรื่อยๆ จนถึง 10
- เพลงแมลงปอ เจ้าแมลงปอ บินมา 1 ตัวบินแล้วก็หมุนๆไปรอบตัว บินไปทางซ้าย บินไปทางขวา บินไปข้างหน้าและก็บินไปข้างหลัง เราสามารถเปลี่ยนตัวเลขได้เรื่อยๆ
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเราสามารถจัดผ่าน 6 กิจกรรมหลักได้ดังนี้
1.กิจกรรมเคลื่อนไหวละจังหวะ
2.กิจกรรมศิลปะ
3.กิจกรรมเสรี
4.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
5.กิจกรรมกลางแจ้ง
6.กิจกรรมเกมการศึกษา
งานที่ได้รับมอบหมาย
1.จับกลุ่ม 5 คน สร้างหน่วย 1 หน่วย พร้อมแตกเนื้อหา
วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2555
เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ
- อาจารย์พูดถึงเรื่องการทำบล็อกเทอมที่แล้ว ว่าใครมีปัญหาอะไรบ้าง และอาจารย์ได้สร้างข้อตกลงร่วมกันคือ ถ้าเรียนแล้วเลิกก่อน 40 นาทีเพื่อให้นักศึกษาไปบันทึกบล็อกอาจารย์จะตรวจทุกวันศุกร์ แต่ถ้าเลิกตามเวลาอาจารย์จะตรวจในวันเสาร์
- อาจารย์ให้หัวข้อ "คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในความเข้าใจของเราเป็นอย่างไร" ให้เราเขียน 1 ประโยค
ตอบ การเรียนรู้ผ่านตัวเลขเป็นพื้นฐานก่อนเรียนคณิตศาสตร์ในระดับชั้นต่อๆไป
-อาจารย์ยังให้เขียนอีก 1 หัวข้อว่า "เราคิดว่าถ้าเรียนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย" ว่าได้อะไรบ้าง
ตอบ ได้เรียนรู้สื่อ เช่นเพลง นิทาน สื่อประกอบการเรียนการสอน และการลงทำกิจกรรมกับเด็กโดยตรง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)