ประมวณภาพ

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

งานวิจัย

สรุปงานวิจัย

ชื่องานวิจัย การศึกษาแบบการคิดและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ผู้วิจัย แน่งน้อย  แจ้งศิริกุล

ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เด็กปฐมวัยแต่ละระดับ มีแบบการคิดแบบใด
2. เด็กปฐมวัยมีอายุต่างกัน มีแบบการคิดต่างกันหรือไม่
3. เด็กปฐมวัยที่มีเพศต่างกัน มีแบบการคิดแต่ละแบบต่างกันหรือไม่
4. เด็กปฐมวัยที่มีความคิดต่างกัน  มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ต่างกันหรือไม่
5.เด็กปฐมวัยที่มีอายุต่างกัน  มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ต่างกันหรือไม่

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย
นักเรียนซึ้งกำลังศึกษาอยู่รัดับชั้น อนุบาล 1 และ อนุบาล 2 โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม จำนวน 120 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ คือ ระดับอายุ เพศ
ตัวแปรตาม คือ การคิดแบบไม่ขึ้นอยู่กับสภาพรอบข้าง ความสามารถในการแก้ปัยหาทางคณิตศาสตร์

เครื่องมือที่ใช้
1.แบบทดสอบแบบการคิด
2.แบบทดสอบการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

สรุปผลงานวิจัย
1.เด็กปฐมวัยอายุ 4-5 ปี และ 5-6 ปี มีแบบการคิดแบบไม่ขึ้นกับสภาพรอบข้างมากกว่าแบบขึ้นกับสภาพรอบข้าง
2.เด็กปฐมวัยอายุ 4-5 ปี และ 5-6 ปี มีแบบการคิดแบบไม่ขึ้นกับสภาพรอบข้าง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเด็กอายุ 5-6 ปี มีแบบการคิดแบบไม่ขึ้นกับสภาพรอบข้างมากกว่า เด็กอายุ 4-5 ปี
3.เด็กปฐมวัยอายุ 4-5 ปี และ 5-6 ปี มีแบบการคิดแบบไม่ขึ้นกับสภาพรอบข้าง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยเด็กอายุ 4-5 ปี มีแบบการคิดแบบขึ้นกับสภาพรอบข้างมากกว่าเด็กอายุ 5-6 ปี
4.เด็กปฐมวัยชายและหญิงมีการคิดแบบไม่ขึ้นกับสภาพรอบข้างและแบบขึ้นกับสภาพรอบข้าง ไม่ต่างกัน
5.เด็กปฐมวัยอายุ 4-5 ปี กับ 5-6 ปี มีความสามารถในการแก้ปัยหาทางคณิตศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสคัยที่ 0.1 โดยเด็กอายุ 5-6 ปี มีความแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเด็กอายุ 4-5 ปี

การนำไปใช้
จากการอ่านงานวิจัยและสรุปผลแล้ว เราสามารถนำงานวิจัยที่เราศึกษานี้ไปใช้ได้ เราสามารถนำผลการวิเคราะห์ของการวิจัยนี้ไปช่วยปลูกฝังให้เด็กนักเรียนรู้จักคิด และแก้ปัญหา เพื่อพัฒนาการที่ดีและสมบูรณ์ของเด็ก และงานวิจัยนี้ยังเป็นแนวทางในการสอนให้กับผู้อ่านได้ไปจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในภายภาคหน้าได้ งานวิจัยนี้จะส่งเสริมและเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาของเด็กด้วย


วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


เนื้อหาที่ได้เรียน/ความรู้ที่ได้รับ
 -วันนี้อาจารย์พูดถึงเรื่องที่พวกเราจะไปดูงานที่หนองคายและประเทสลาว โดยอาจารย์ได้มีการลงชื่อนักศึกษาที่จะไปดูงาน
-อาจารย์นัดสอบในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13.00 น.
-อาจารย์แจกกกระดาษ และให้หัวข้อว่า เรียนวิชานี้ ได้ความรู้อะไร ได้ทักษะอะไร และเขียนถึงวิธีสอน


วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556


เนื้อหาที่ได้เรียน / ความรู้ที่ได้รับ

*ดูสาธิตการสอน เรื่องอวัยวะ(ร่างกาย)

วันที่ 1
-เด็กรู้จักอวัยวะอะไรบ้างค่ะ < อวัยวะภายนอกของเด็ก ๆ มีอะไรบ้างค่ะ < ครูให้เด็กยกมือตอบ < ครูติดภาพบนกระดาน < ถามเด็กว่าอวัยวะมีกี่ภาพ < ให้เด็กช่วยกันนับ 

วันที่ 2
-ทบทวนความรู้เดิมจากเมื่อวานนี้ < มีรูปภาพอวัยวะมาให้เด็กสังเกตุแล้วเริ่มเขียน Map < ให้เด็ก ๆ ลองสัมผัสใบหูของเพื่อนข้างๆ แล้วถามว่ามีมีพื้นผิวอย่างไร< ให้เด็กสังเกตุใบหู พร้อมทั้งคุรครูบอกว่า ใบหูของทุกคนมีสีผิวไม่เหมือนกันเพราะขึ้นอยู่กับสีผิว

วันที่ 3 
-ครูนำรุปอวัยวะต่าง ๆ มาให้เด็กดู < อะไรที่หูกับจมูกเหมือนกัน ทบทวนความรู้เดิมจากเมื่อวานที่เด็กได้รู้จักใบหู < ครูนำรูปตามาติดพร้อมทั้งถามเด็กว่า ตา ทำอะไรได้บ้างค่ะ พร้อมเขียน Map < สรุปอวัยวะของเราที่มีหน้าที่แตกต่างกัน

วันที่ 4
-เด็กค่ะเมื่อวานเรียนเรื่องอะไรไปบ้างค่ะ < มีอวัยวะอะไรบ้าง < ครูมีนิทานมาเล่าให้เด็กฟัง < ถามเนื้อเรื่องนิทานมีประโยชน์อะไรบ้างค่ะ < ครูสรุปหน้าที่กับประโยชน์ใกล้เคียงกัน สุดท้ายอาจสรุปเป็น Map นำเสนอ

วันที่ 5
-ทบทวนความรู้เดิมจากเมื่อวานนี้ < วิธีดูแลรักษาอวัยวะของร่างกายเรา < ครูใช้คำถาม ถามเด็กว่า ถ้ามือเปลื่อนฝุ่นเรานำมือไปขยี้ตาได้หรือไม่ค่ะ <  ไม่ได้แล้วเราต้องทำอย่างไรค่ะ < เด็ก ๆ ไม่ควรดู TV ใกล้เพราะจะทำให้สายตาสั้น < ครูและเด็กสรุปผลร่วมกัน




วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เนื้อหาที่ได้เรียน / ความรู้ที่ได้รับ 

*ดูสาธิตการสอนของเพื่อน เรื่องกระดุม

วันที่ 1
-หยิบกระดุมขึ้นมาแล้วถามเด็ก<ให้เด็กสำรวจร่างกายตัวเอง<ถามเด็กว่าทรายมั้ยว่ามีกระดุมกี่ชนิด<ให้เด็กเปรียบเทียบกระดุมโลหะกับกระดุมอโลหะ
-ควรมีนิทาน เพลง หรือ คำคล้องจองที่เกี่ยวกับเรื่องเนื้อหาที่สอน
-เวลาเด็กบอกชนิดกระดุมที่เด็กรู้จัก ครูควรจดเป็น My Map
-นำกระดุมใส่ถุงซิปแล้วนำมาให้เด็กได้ดูความหลากหลายของชนิดของกระดุม

วันที่ 2
-ทบทวนความรู้เดิมจากเมื่อวานนี้
-นำกระดุมมาให้เด็กดูแล้วถามเด็กว่ากระดุมมีรูปทรงอะไร
-เขียนตารางความสัมพันธ์ของกระดุมแต่ละชนิด

วันที่ 3
-ถามคำถามเด็กว่ากระดุมใช้ทำอะไรได้บ้าง
-ถามเด็กว่ากระดุมที่ครูถืออยู่เป็นรูปอะไร
-นำกระดุมแต่ละชนิดมาติดให้เด็กดู แต่งนิทานเรื่องประโยชน์ของกระดุม

วันที่ 4
-ให้เด็กนำกระดุมที่เด็กชอบ และนำมาใส่กล่อง
-ครูสรุปผลร่วมกันกับเด็ก
-มีการใช้คำถามว่า < เราจะไปซื้อกระดุมได้ที่ไหน < ถ้าเด็ก ๆ มีกระดุม เด็ก ๆ จะเก็บกระดุมไว้ที่ไหน < เด็ก ๆคิดว่ากระดุมทำให้เกิดอาชีพอะไรบ้างค่ะ


งานที่ได้รับมอบหมาย
- My maping มาตรฐานคณิตศาสตร์ลงบล็อค

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

เนื้อหาที่ได้เรียน / ความรู้ที่ได้รับ

-อาจารย์นัดประชุมทั้ง 2 ห้อง เพื่อมาคุยงานการแสดงศึกษาศาสตร์ทาเลนต์ โดยสรุปผลได้ดังนี้
มีการแสลง รำ ร้องเพลง โฆษณา การแสดงลิบซิ้ง เต้นประกอบเพลง ละครใบ้ ตลก ผู้กำกับหน้าม้า
- โดยมี สว่างจิตร (รำ), รัตติยา (ร้องเพลง), โฆษณา (นิศาชล,ละมัย) , พิธีกร (ซาร่า,ลูกหยี) , ลิบซิ้งเพลง (จุฑามาศ, นีรชา) , เต้นประกอบเพลง (พลอยปภัส,เกตุวดี,มาลินี) , ละครใบ้ (อัจฉรา,จันทร์สุดา) , ผู้กำกับหน้าม้า (พวงทอง,นฎา)
- เรานำเรื่องที่ประชุมกันในวันนี้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนเกี่ยวกับ การสอนผ่านโครงการ หรือ โปรเจค ได้ค่ะ

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556


เนื้อหาที่ได้เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* ดูสาธิตการสอนของเพื่อน  เรื่องขนมไทย ต่อ จากสัปดาห์ที่แล้ว

วันที่ 1 ชื่อขนมไทย
-เด็กรู้จักขนมอะไรบ้างค่ะ < ลองดูจากภาพสิค่ะ< พร้อมนำตัวเลขไปติดกำกับ

วันที่ 2 ลักษณะรูปร่างของขนมไทย
- นับจำนวนขนมทั้งหมด < แยกออก < เรียงขนมจากซ้ายไปขวา < นับใหม่ <.ใส่ตัวเลขกำกับ< ถามเด็กว่าอยากชิมขนมกันมั้ยค่ะ< ครูแบ่งครึ่งขนม < ครูวางเรียงขนมชั้น เม็ดขนุน สลับกัน < ให้เด็ก ๆ ออกมาเรียงตามแบบ

*ดูสาธิตการสอนของเพื่อน  เรื่องข้าว

วันที่ 2 ลักษณะของข้าว
- เด็ก ๆ รู้จักข้าวอะไรบ้างค่ะ < รู้จักส่วนประกอบ<ใส่ข้าวสารในภาชนะต่างกัน<เทข้าวสารใส่ภาชนะที่เท่ากันเพื่อพิสูจ< เทข้าวสารใส่ภาชนะเช่นเดิม (การอนุรักษณ์)

วันที่ 4 การเก็บรักษา
- เด็ก ๆ เคยเห็นข้าวเก็บไว้ที่ไหนค่ะ < ทำไมต้องเก็บข้าว<ครูเอารูปที่เก็บข้าวต่าง ๆ มาให้เด็กดู

*ดูสาธิตการสอนของเพื่อน  เรื่องกล้วย

วันที่ 1 ชื่อของกล้วยชนิดต่าง ๆ
-เด็ก ๆ รู้จักกล้วยอะไรบ้างค่ะ < เด็ก ๆ ทราบหรือไม่ว่าในตระกล้ามีกล้วยอะไรบ้าง < ไหนลองบอกครูสิค่ะว่ามีกล้วยอะไรบ้าง < เห็นมั้ยค่ะว่ามีกล้วยอะไรบ้าง < ให้เด็ก ๆ หยิบกล้วยมาเรียงแล้วนับ,หยิบภาพเรียงลำดับ < กล้วยทั้งหมด 9 หวี  กล้วยหอม 4 หวี กล้วยน้ำละว้า 3 หวี กล้วยไข่ 2 หวี

วันที่ 2 ลักษณะของกล้วย
- ถามคำถามเพื่อทบทวนความรู้เด็กเมื่อวานนี้ว่า เด็กรู้จักกล้วยอะไรบ้างค่ะ < ครูหยิบกล้วยออกมา 1 หวี ใช้ตัวเลขกำกับ < นำจานออกออกมาให้เด็กๆดูและถามเด็กว่าข้างในจานมีอะไรไหนเด็ก ๆ ลองทายดูสิค่ะ < เปิดโอกาศให้เด็กได้สัมผัสกล้วย < ให้เด็กชิมรสกล้วย< ครูแบ่งครึ่งกล้วยออกครึ่งเรียกเด็ก 2 คน ออกมา ถ้าไม่พอ แบ่งออกเป็น 4 ถ้าไม่พอแบ่งออกมาเป็น 8 กล้วย 1 ผลเด็กชิมได้ 8 คน < สรุปตอนท้ายด้วย My map

วันที่ 3 ข้อควรระวัง
-สร้างเรื่อง พ่อไปตัดกล้วย ใช้สอนเรื่องตำแหน่ง ทิสทาง

วันที 4 การขยายพันธ์
-แบ่งกลุ่มใช้กระดาษตัดเป็นรูปมือ<แต่ละแปลงห่างกัน 1 ฝ่ามือ <ปลูกเว้นละยะเพื่อที่จะขยายพันธ์ <แปลงใครขายพันธ์ต้นกล้วยได้มากที่สุด


งานที่ได้รับมอบหมาย
- อ่านวิจัย 1 เรื่อง

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11



วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ.2556

เนื้อหาที่ได้เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

-ดูการสอนของกลุ่มขนมไทย
-อาจารย์บอกว่า เวลาที่สอนเด็ก เราควรมีลูกเล่นกับเด็ก
-อาทิตย์หน้า กลุ่มที่เหลือออกมาสอนให้เพื่อนดู

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ.2556

เนื้อหาที่ได้เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

สาระ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดคณิตศาสตร์ปฐมวัย : สสวท.
- สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
คือ เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชิวิตประจำวัน
- สาระที่ 2 : การวัด
คือ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาณ เงิน เวลา
- สาระที่ 3 : เรขาคณิต
คือ รู้จักใช้คำในการบอกทิศทาง ตำแหน่ง และระยะทาง
      รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการกระทำ
- สาระที่ 4 : พีชคณิต
คือ เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์
- สาระที่ 5 : การวิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
คือ รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
-สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
หมายเหตุ.... ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้แก่ การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อสารทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

- มาตรฐาน คือ สิ่งที่ทุกคนยอมรับ
- เกณฑ์ คือ  ตัวชีวัดที่เป็นตัวเลข และเป็นที่ยอมรับ และมีคุณภาพ




ดอกไม้จากแกนกระดาษทิชชู่

งานที่ได้รับมอบหมาย
- สอบสอนในอาทิตย์หน้า

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556